Depth of field (DOF) ช่วงความชัด
Depth of field หรือ ช่วงความชัด คือ ช่วงของระยะโฟกัส ที่ปรากฏอยู่ในโฟกัส หรือมีความคมชัดในระดับที่รับได้ จะอธิบายด้วยภาพนะครับ
จากภาพด้านบน จะเห็นได้ว่าช่วงโฟกัสจะมีความคมชัดที่สุด และถัดออกไปทั้งบนและล่างก็คือ ช่วงที่มีความคมชัดในระดับที่รับได้
ดังนั้น ภายในกรอกสีแดงเราจะเรียกว่า "ช่วงความชัด" หรือที่ศัพท์คนในวงการเรียกกันว่า เดฟ นี่หล่ะครับ
แล้วอะไรหล่ะที่ทำให้เกิดช่วงความชัดแคบ(ชัดตื้น) หรือช่วงความชัดกว้าง(ชัดลึก) ????
ซึ่งก็มีอยู่ 3 ปัจจัยที่ทำให้ภาพถ่ายนั้น มีช่วงความชัดที่แตกต่างกัน นั่นก็คือ
1. aperture หรือ รูรับแสง
รูรับแสงยิ่งกว้างเท่าไร (เลขน้อย เช่น 2.8) ช่วงความชัดจะแคบ แต่...
รูรับแสงยิ่งแคบเท่าไร (เลขมาก เช่น 16) ช่วงความชัดจะกว้าง
แต่เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ขออธิบายด้วยภาพกราฟิคเน่าของผมก็แล้วกันครับ แฮะๆ
 |
ภาพ A |
จากภาพ A ถ่ายด้วย f/16 จะเห็นว่าช่วงความชัด (Depth of field) จะกว้าง ทำให้ภาพที่ไปบันทึกที่ CCD นั้นเป็นภาพที่มีช่วงความชัดกว้าง (ชัดลึก)
 |
ภาพ B |
ส่วนภาพ B ถ่ายด้วย f/2.8 จะมีช่วงความชัด (Depth of field) จะแคบ ทำให้ภาพที่ไปบันทึกบน CCD นั้นเป็นภาพที่มีช่วงความชัดแคบ (ชัดตื้น)
จะสังเกตุได้อย่างหนึ่งนะครับ ว่าภาพ A ถ่ายด้วย f/16 และวางวัตถุไว้ใกล้กว่าภาพ B แต่ช่วงความชัด (Depth of field) ก็ยังกว้างอยู่ดี
เราสามารถนำหลักการนี้ ไปใช้ได้ในกรณีที่เราต้องการใช้ f/stop ที่แคบ แต่ก็ต้องการให้ ฉากหลังเบลอ
เช่น อยากถ่ายภาพงานรับปริญญา กลางแจ้ง มุมเงยขึ้นไปเห็นแฉกของดวงอาทิตย์ แต่บนท้องฟ้าดันมีสายไฟอยู่ และต้องการให้สายไฟไม่แย่งความสนใจมากเกินไป
เริ่มจากกลางแจ้ง และต้องการแฉกของดวงอาทิตย์ ก็ต้องใช้ f/stop ที่แคบอย่าง 11 หรือ 16
และต้องการทำให้สายไฟบนท้องฟ้าไม่แย่งความสนใจ เราก็ต้องเข้าใกล้ตัวบัณฑิต เพื่อที่จะให้สายไฟไม่แย่งความสนใจไป ซึ่งจะนำไปสู่ปัจจัยอย่างที่สอง นั่นก็คือ Distance หรือ ระยะห่างของวัตถุ นั่นเองครับ
2. Distance หรือ ระยะห่างของวัตถุ
ส่วนที่ทำให้เกิดช่วงความชัดแคบ หรือช่วงความชัดกว้าง อีกอย่างหนึ่งก็คือ ระยะห่างของวัตถุ กล่าวได้ว่า เมื่อกล้องอยู่ใกล้วัตถุมากเท่าไร จะทำให้ช่วงความชัดแคบมากขึ้นเท่านั้น จะสังเกตุได้ชัดเจนเวลาที่เราถ่ายภาพใกล้ (macro) ว่าการที่จะให้มดที่เดินไปมา ให้อยู่ในโฟกัสเนี่ยมันยากซ่ะกว่าปีนให้ถึงยอดเขาเอเวอร์เรสซ่ะอีก อ่ะนั้นก็เวอร์ไป เอาเป็นว่ามันยากล่ะกันครับ
และทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้นหล่ะ ???
หลักการจะคล้าย ๆ กับเรื่องของรูรับแสงเลยครับ ดูได้จากภาพ C และ D ครับ (ทั้งสองภาพใช้ f/5.6 เท่ากันเลยครับ)
 |
ภาพ C |
ภาพ C เราถ่ายวัตถุที่อยู่ไกล จะทำให้ช่วงความชัดกว้าง
 |
ภาพ D |
ภาพ D ถ่ายวัตถุที่อยู่ใกล้ สังเกตุได้ชัดเลยว่า ช่วงความชัดแคบมาก ๆ
อธิบายให้เห็นภาพนะครับ ลองหยิบปากกาขึ้นมา แล้วนำปากกามาใกล้ ๆ จะเห็นว่าฉากหลังนั้น
เบลอมาก ๆ แล้วลองถอยปากกาให้ไกลออกไป ฉากหลังก็จะค่อย ๆ ชัดมากขึ้นครับ
3. Focal length หรือ ทางยาวโฟกัส
แน่นอนครับทางยาวโฟกัสมีผลค่อนข้างชัดเจน สังเกตุได้จากภาพด้านบนเลยครับ
เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของเลนส์ เข้าไปหาวัตถุ ซึ่งเมื่อก่อนจะมีเลนส์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เลนส์ชัก
การทำงานของมันคือ หากเลนส์ชักออกไปก็จะดึงภาพเข้ามาใกล้ และมีมุมแคบ แต่ในทางกลับกันหากชักเลนส์เข้ามาภาพที่ได้ก็จะกว้างขึ้น และดูไกลออกไป ไปดูภาพอธิบายกันครับ
 |
ภาพ E |
ภาพ E เลนส์ถูกดึงออกห่างจากวัตถุ ทำให้ช่วงความชัดกว้าง
 |
ภาพ F |
ภาพ F เลนส์ถูกดึงเข้าหาวัตถุ ทำให้ช่วงความชัดแคบ
จบแล้วครับ ผิดพลาดตรงส่วนไหนคอมเม้นท์ แนะนำมาได้เลยนะครับ เพราะอ่านมาจากตำราภาษาอังกฤษอาจแปลถูก ๆ ผิด ๆ ไปบ้างครับ
ส่วนเรื่องต่อไป จะมาคลายความสงสัยกันว่า "ทำไม ?? ภาพที่ถ่ายออกมาถึงเป็น สี่เหลี่ยม ทั้ง ๆ ที่ถ่ายมาด้วยเลนส์ที่มีลักษณะเป็นวงกลม"